วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วิธีทำ O-Net วิชาภาษาอังกฤษ Part - Error Detection

16 ช้อยส์ก็จริง แต่จะมีเพียงคำตอบเดียว นี่ตัวอย่างโจทย์

The man sits in the first row is busy drawing a picture
A B C
of the visiting lecturerer.
D

อันดับแรก ต้องพิจารณาดูว่า A, B, C หรือ D ที่ผิดแล้วเค้าจะให้ช้อยส์มาอย่างนี้
A.) 1. A man sat
2. The man sitting
3. A man will sit
4. The man is sitting

B.) 1. the row first
2. the row one
3. first row
4. one row

C.) 1. busy draw
2. drawing busy
3. drawn busily
4. busily drawn

D.) 1. for visited lecturer
2. by the visiting lecturer
3. about visiting lecturer
4. with the visited lecturer

อันดับต่อมาที่ต้องทำคือ แก้ให้ถูก ดังนั้น สมมติว่าจากขั้นแรก เราดูแล้วเราคิดว่า ข้อ A มันผิดเราก็มาดูที่ช้อยส์ของข้อ A
A.) 1. A man sat
2. The man sitting
3. A man will sit
4. The man is sitting

จากโจทย์เค้าให้ A เป็น The man sits แล้วเราคิดว่ามันไม่ใช่ มันผิด มันต้องแก้เป็น The man sitting ตะหาก ซึ่งก็คือข้อ A2

ดังนั้น ตอบ A2

1.) A. 1 2 3 4
B. 1 2 3 4
C. 1 2 3 4
D. 1 2 3 4

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

เด็กตัวโต กับ ความผิดพลาดของ หมอ





มันเริ่มจากเมื่อปลายปีที่แล้ว วันที่ 10 ธันวา 52 ถึงปัจจุบัน
ป๊ะป๊า ตกบันได้ แล้วก็ๆไปตรวจที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แน่นอนวันนั้นอาจจะไม่มีหมอเฉพาะทาง หรือหมอที่ดี ผลตรวจออกมา ป๊าขาแพลง อืม ตอนนั้นเราอยู่บริษัทพี่ได้ข่าวก็ตกใจถามป๊าว่าเปนไรมากป่าว ป๊าบอกว่าแค่ขาแพลง โอเคโล่งใจไป นึกว่าจะเปนอะไรมาก เพราะป๊าก็เปนโรคหัวใจด้วย กลัวจริงๆๆ
พอกลับมาบ้านมานั้งพิจารณาขาป๊า ทำไมมันบวม ทำไมมันเขียว นี่เท้าคนขาแพลงหรอเนี๊ยะ ใหญ่จริงๆๆเลย ป๊าก็ว่ายังงั้นทำไมมันใหญ่ ผ่านไป 1 คืน ป๊าทนไม่ไหวและ โทรถามเพื่อนพยาบาลดีกว่า
เค้ามาหาที่บ้าน เอายา เอา เฝือกอ่อนมาให้ใหญ่โตมากๆเลย เค้าก็เลยไปขอเช็คฟิลม์
ตกเย็นเค้าบอกให้เข้ามาคลินิกเลย อาจจะไม่ใช่แค่ขาแพลงและ มันอาจจะขาหัก หรือร้าว
แล้วความจริงก็ปรากฏ กระดูกร้าว เข้าโรงบาลเลย อาจจะต้องผ่า
โหหห น้ำตาจะไหล ให้พ่อข้าพเจ้าทนเจ็บ 1 คืน ตรวจบ้าอะไรไม่เหนว่าร้าวว เรียนหมอมาป่าวเนี๊ยะ ของขึ้นอย่างแรง เจ๊อยากเอาเรื่องมาก เพราะป๊าก็อายุเยอะ โรคประจำตัวก็มี แล้วตรวจอะไรยังงี้
และแล้วก็ต้องอยู่โรงบาลหยุดยา บางอย่างของโรคหัวใจ

ช่วงนั้นป๊าเซงมาก มันก็ขำดีนะเวลาป๊าทะเลาะกับพยาบาล เพราะพ่อต้องใส่ไอสำลีพันผ้า
ผมถอดได้ไหม อยากอาบน้ำ เนี๊ยะผมว่ามันไม่ช่วยอะไรเลย ยังงี้ผมก็ทำเป็น
ให้ผมกับบ้านได้ไหม เดี่ยวตอนกลางคืนมานอนที่โรงพยาบาลได้ป่าว
ป๊าว่า มันเหมือนติดคุกเลย
นี่ข้าวโรงบาลหรอเนี๊ยะ จืด ไม่อร่อยเลยยย
อามป๊าว่า ไปเอารถเข็นมา ไปเที่ยวรอบโรงบาลกัน 555+ เด๋วโพสรูปให้ดู

ป๊าบ่นเยอะมาก แต่ก็ขำมากเหมือนกัน
ทำให้เรารู้ว่า จริงๆแล้วผู้ใหญ่ก็คือ เด็กที่ตัวโต นั่นเอง

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

กระดาษคำตอบ o-net


การทำข้อสอบ o-net ชุดใหม่เนี่ยให้เราแสดงความสัมพันธ์ มันมี 2 แบบ
แบบ 1 ใช้ วิชา วิทย์นะ
1. ข้อใดเป็นดาวเคราะห์วงใน
1) ดาวพุธ
2) ดาวศุกร์
3) โลก
4) ดาวพฤหัสบดี
5) ดาวเสาร์
6) ดาวอังคาร
คำตอบคือข้อ 1 กับ 2 ดังนั้นฝนสองข้อ
Part 2 กับวิชาภาษาไทย
1.ข้อใดไม่เข้าพวก
1) อาชา
2) พาชี
3) กุญชร
4) อัศวิน
คำตอบคือข้อ 3แต่คำถามเมื่อกี้ คือ ส่วนแรกส่วนที่สองคือจากข้อแรก สัมพันธ์กับอะไร
1) อักษรสูงนำหน้า
2) อักษรกลางนำหน้า
3) อักษรต่ำนำหน้า
4) อักษรตามนำหน้า
ตอบข้อ 2 อย่างเนี้ย

อ้อ ถ้าผิดส่วนใดส่วนหนึ่งเนี่ยเสียไป 2.5 คะแนนนะจ๊ะ


ต้อนรับปีใหม่ กับกระดาษคำตอบแผ่นใหม่
ของ ขวัญ จาก ศทส. แหม คุณป้าอุทุมพร คงจะมีความสุขนะ :) หุหุหุ

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นับถอยหลัง


13 DAYS only

fight for !!!

Faculty of education
Silpakorn University
7/11/09
20/11/09

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นับถอยหลัง


14 DAYS only

fight for !!!

Faculty of education
Silpakorn University

6/11/09
20/11/09

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นับถอยหลัง

15 DAYS only
fight for !!!
Faculty of education
Silpakorn University
5/11/09
20/11/09

เข้ามหาวิทยาลัย “เพราะเห็นคุณค่า” หรือ “เพื่อใบปริญญา”


เข้ามหาวิทยาลัย “เพราะเห็นคุณค่า” หรือ “เพื่อใบปริญญา”

นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2547-2550 สถาบันอุดมศึกษาไทยมีนักศึกษาเพิ่มขึ้น โดยระดับปริญญาตรี ระหว่างปีการศึกษา 2547-2549 มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น 497,542 คน 506,054 คน และ 549,235 คน ตามลำดับ และลดลงในปีการศึกษา 2550 ที่มีจำนวน 506,650 คน เช่นเดียวกับระดับปริญญาโท ที่นักศึกษาเพิ่มขึ้นช่วงปีการศึกษา 2547-2549 จำนวน 497,542 คน 51,733 คน และ 59,001 คนตามลำดับ แต่ลดลงในปีการศึกษา 2550 ที่มีจำนวน 52,992 คน ขณะที่นักศึกษาระดับปริญญาเอกเพิ่มขึ้นทุกปี โดยช่วงปีการศึกษา 2547-2550 มีจำนวนนักศึกษา 2,114 คน 3,098 คน 3,433 คน และ 3,888 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการด้านการศึกษาและผู้ใหญ่ในสังคมหลายท่านแสดงความเป็นห่วงว่า จะมีนักศึกษาจำนวนมากเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาเพื่อต้องการปริญญา แต่ไม่ได้สนใจในสาขาวิชาที่เรียนอย่างแท้จริง และผลกระทบระยะยาวคือ แรงงานระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาล้นตลาด ซึ่งในประเด็นแรงจูงใจในการเรียนระดับอุดมศึกษา มีการกล่าวถึงในต่างประเทศเช่นกัน

ศ.ไมค์ ธอร์น (Mike Thorne) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแองเกลีย รัสกิน (Anglia Ruskin University) กล่าวว่า ปัจจุบันแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัย ไม่ได้อยู่ที่การรักในสิ่งที่เรียน แต่เกิดจากการเห็นว่าใบปริญญาเป็นเหมือนหนังสือเดินทาง ที่นำไปสู่โลกของการทำงาน มีนักศึกษาส่วนน้อยเท่านั้นที่มีค่านิยม “เรียนเพราะเห็นคุณค่าในสิ่งที่เรียน” ซึ่งค่านิยมดังกล่าวนี้ เริ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลทำให้มหาวิทยาลัยกลายเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยนโยบายการศึกษาของประเทศหลายข้อถูกผลักดันด้วยประเด็นทางเศรษฐกิจเป็นหลัก

ก่อนหน้านี้ ความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจและการศึกษามีไม่มากนัก ลูกตุ้มที่แกว่งไปมาระหว่าง 2 ด้าน มักจะแกว่งไปที่การศึกษามากกว่าเศรษฐกิจ นักศึกษาจะเห็นคุณค่าและรักในสิ่งที่เรียน แม้ว่าปริญญาบัตรที่ได้รับจะไม่นำไปสู่โลกของการทำงานในภาคธุรกิจ แต่อย่างน้อยก็ได้นำพวกเขาไปสู่โลกของนักวิชาการ ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับประเทศ

ศ.เลวิส อีตัน (Lewis Elton) ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (University College Lodon) ได้แสดงความคิดเห็นในมุมตรงข้าม กล่าวว่า ความคิดของ ศ.ธอร์นไม่ใช่สิ่งผิด แต่หากมองอีกด้าน มหาวิทยาลัยมีบทบาทและภารกิจเพียงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาสำหรับการใช้ชีวิตจริงในโลกของการทำงาน แต่ไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษาได้ อีกทั้ง บรรดานายจ้างไม่ได้กำหนดชัดว่าพวกเขาต้องการพนักงานที่มีแรงจูงใจที่ถูกต้องทั้งในการเรียน แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ ความสามารถในการทำงาน

ผมมีความคิดเห็นว่า แรงจูงใจในการเรียนที่เกิดจากการรักสิ่งที่เรียนมีความสำคัญ และไม่ได้ผิดอะไร หากนักศึกษาศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในบางสาขา โดยมีความตั้งใจแน่วแน่ว่าต้องได้ปริญญาเพื่อเบิกทางเข้าทำงานในสาขาที่สนใจ แต่สภาพจริงกลับพบว่า มีนักศึกษาจำนวนมากไม่ได้ตั้งเป้าหมายตั้งแต่แรกว่า จะเรียนสาขาใดหรือจบออกไปจะประกอบอาชีพใด แต่เรียนอะไรก็ได้เพื่อให้ได้ใบปริญญา ความตั้งใจเรียนจึงมีไม่มากนัก

ลักษณะของนักศึกษาที่เรียนเพื่อให้ได้ใบปริญญา เช่น เรียนสาขาอะไรก็ได้ที่สอบติด หรือเรียนไม่ยาก จบง่าย และไม่สนใจว่าจะนำความรู้ที่ได้เรียนนั้นไปใช้ประโยชน์หรือไม่ พฤติกรรมการเรียนมีลักษณะ เข้าเรียนบ้างไม่เข้าเรียนบ้าง อาศัยการถ่ายเอกสารจากสมุดบันทึกคำบรรยายของเพื่อนหรือเอกสารที่แจกในห้องเรียนเอาไว้อ่านช่วงใกล้สอบ นักศึกษาบางคนเรียนไปเรื่อย ๆ เกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งที่เรียน ใช้วิธีเปลี่ยนสาขาวิชาหรือเปลี่ยนคณะ พฤติกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเปล่าของงบประมาณ เพราะค่าเล่าเรียนของนักศึกษากว่าครึ่งเป็นเงินภาษีประชาชน แต่ประเทศกลับไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงานและสังคม หรือได้นักวิชาการที่มาสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ
ในทางตรงข้าม นักศึกษาที่มีแรงจูงใจเพื่อต้องการวิชาความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการทำงานภาคธุรกิจหรือเป็นนักวิชาการ จะมีพฤติกรรมที่แตกต่างคือ นักศึกษาจะมีเป้าหมายว่าต้องการเรียนในสาขาวิชาหรือคณะใด โดยตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ เพื่อไปเป็นนักวิชาการหรือทำงานในบริษัทที่รับคนจบในสาขาวิชาดังกล่าว พฤติกรรมในการเรียนจะเรียนอย่างตั้งใจมากกว่านักศึกษาที่มีแรงจูงใจอยู่
ที่ใบปริญญาบัตร

การศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่มีแรงจูงเพื่อแสวงหาความรู้อย่างแท้จริง จะส่งผลให้นักศึกษาได้รับประโยชน์จากการเรียนมากกว่านักศึกษาที่เรียนไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีเป้าหมาย รอรับใบปริญญาอย่างเดียว เนื่องด้วยนักศึกษาที่มีแรงจูงใจเรียน เพื่อรู้ลึก รู้จริง และต้องการนำไปใช้ประโยชน์ ย่อมมีแนวโน้มตั้งใจเรียน มีความสุขกับการเรียน สามารถต่อยอดองค์ความรู้ในสาขานั้น ๆ ได้มาก และจะกลายเป็นกำลังคนที่มีคุณภาพป้อนสู่ตลาดแรงงาน และมีส่วนในการพัฒนาประเทศ

Credit สยามรัฐรายวัน